วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ดอกอัญชัน




ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitornia ternatea                                         ชื่อวงศ์: FABACEAE-PAPILIONIDEAE
ชื่อสามัญ: Butterfly Pea Blue Pea Mussel - Shell Creeper    ชื่อท้องถิ่น: เอื้องชัน แดงชัน อูบีกือลิง หญ้าลินจัน
อัญชัน เป็นไม้เลื้อย ลำต้นมีสีเขียวมีขน ใบสีเขียวเป็นไม้ไม่ผลัดใบ ดอกสีน้ำเงินแก่ตรงกลางมีสีเหลืองบางชนิดมีสีขาว หรือสีม่วงอ่อน ผลแบบฝักถั่ว ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง ขึ้นงอกงามดีในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ชอบแสงทั้งวันอัตราการเจริญเติบดีมาก นิยมปลูกตามรั้ว เป็นซุ้ม เป็นพันธุ์ไม้ในเขตร้อน ขึ้นได้ทั่วไป

ดอกอัญชัน  มีสารแอนโไซยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเล็กๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมและนัยน์ตามากขึ้น สารแอนโทรไซยานินนี้จะพบในผลไม้และดอกไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีแดง หรือสีม่วง มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ โดยที่พืชจะสร้างสารนี้ขึ้นมา เพื่อป้องกันดอกหรือผลตัวเอง จากอันตรายของแสงแดดหรือโรคภัย

ดอกสกัดสีมาทำสีประกอบอาหารได้ ดอกมีคุณค่าทางสมุนไพรช่วยปลูกผม ราก บำรุงตาลดอาการของโรคทางสายตา แก้ตาฟาง ตาแฉะ ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ รากใช้ถูฟันแก้ปวดฟัน

ดอกแก้ว



ชื่อวิทยาศาสตร์:  Murraya paniculata (L.) Jack.
ชื่อวงศ์:  RUTACEAE
ชื่อสามัญ:  Orang Jessamine, China Box Tree, Andaman Satinwood, Chinese Box-wood
ชื่อพื้นเมือง:  แก้ว, แก้วขาว (ภาคกลาง), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก, ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ สีเขียวเข้ม เปลือกต้น สีขาว
เทา แตกเป็นร่องตามยาว
    ใบ  ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 5-9 ใบ เรียงสลับกันจากเล็กไปหาใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน ใบย่อยที่ปลายก้านใบรูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลม โคนแหลมหรือสอบ ขอบเป็นคลื่นหรือหยักมนตื้นๆ โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ใบมีต่อมน้ำมัน
    ดอก  ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม   กลีบเลี้ยง 5 กลีบ   กลีบเลี้ยง ขนาดเล็ก ปลายมน กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาวประมาณ1.2 ซม. เรียงซ้อนเหลื่อม ฐานรองดอกรูปวงแหวน เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน ยาวประมาณกึ่งหนึ่งของกลีบดอก ก้านเกสรเพศผู้แบน รังไข่ติดเหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียหนา ยาวประมาณ 0.7 ซม. ยอดเกสรรูปโล่ห์ ร่วงง่าย ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล  รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 5-8 มม. ยาวประมาณ 1 ซม. ผลแก่สีแดงอมส้ม ต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด
    เมล็ด  รูปไข่ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด

ดอกชงโค




ชื่อวิทยาศาสตร์     Bauhinia glauca   Wall. ex Benth.
ตระกูล                CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ            Orchid Tree, Purder
ลักษณะทั่วไป
ชงโคเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อมสูงประมาณ ๕-๑o เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมน มองดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้ายใบกาหลง แต่เว้าลงลึกกว่า) ใบทั้งสองด้านมักพันเข้าหากันเหมือนปีกผีเสื้อ ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นใบแฝด (เหมือนกาหลง) เพราะปกติใบไม้ทั่วไปจะมีปลายใบแหลม หรือกลมมน ลักษณะของชงโคเป็นพุ่มค่อนข้างกว้างและใบดกทึบ เป็นต้นไม้ผลัดใบในฤดูหนาว (พฤศจิกายน-ธันวาคม) แล้วผลิใบ ใหม่ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม

ดอก ชงโคจะเริ่มออกดอกหลังจากผลิใบชุดใหม่ออกมาแล้ว คือหลังเดือนเมษายนเป็นต้นไป ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อยาวกว่าดอกกาหลง แต่ละช่อมีดอกย่อยราว ๖-๑o ดอก แต่ละดอกมีกลีบย่อย ๕ กลีบ รูปทรงคล้ายดอกกล้วยไม้ ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาว ๕ เส้น ยื่นไปด้านหน้าและปลายโค้งขึ้นด้านบน มีเกสรตัวเมียอยู่ตรงกลาง ๑ เส้น มีความยาวและโค้งขึ้นสูงกว่าเกสรตัวผู้ ดอกบานเต็มที่กว้างราว ๗-๙ เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบดอกชงโคมีสีชมพูถึงม่วงแดง ผันแปรไปตามสายพันธุ์ของแต่ละต้นที่เกิดจากการเพาะเมล็ด หากต้องการให้มีสีเดียวกัน ต้องใช้วิธีขยายพันธุ์ด้วยกิ่ง เช่น ติดตาหรือทาบกิ่ง ดอกชงโคติดต้นอยู่ได้นานนับเดือน

ผล ลักษณะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่ว แก่ประมาณเดือนกันยายน-ธันวาคม ขนาดกว้างราว ๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๕-๒o เซนติเมตร เมล็ดค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความยาวของฝัก